ทรัพยากรที่ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกและทำการเกษตร

การหาซื้อที่ดินเพื่อมุ่งเน้นไปที่ที่ดินเพื่อทำการเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

หมายถึงพื้นที่การเกษตรที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ และจะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ตามประกาศของกรมป่าไม้ รวมถึงไม่ใช่พื้นที่ที่มีความลาดชันจนเกินไป โดยในการศึกษาจะพิจารณาจากพื้นที่ที่ทำการเกษตรในปัจจุบันจากแผนที่การใช้ที่ดิน จากนั้นจึงนำมาพิจารณาร่วมกันกับปัจจัยในด้านอื่นๆ ซึ่งอาจมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก เช่น มีปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เป็นต้น

การพัฒนาการเกษตรในระยะที่ผ่านมาปรากฏว่าผลผลิตด้านการเกษตรได้ขยายตัวในอัตราที่สูงและน่าพอใจตลอดมา และมีน้อยประเทศที่จะเทียบได้ นอกจากนั้นการเติบโตของสาขาเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มพูนฐานะและรายได้ให้แก่คนในชนบทส่วนใหญ่และมีส่วนสำคัญต่อการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทให้ลดลง แต่ความเหลื่อมล้ำในฐานะรายได้ระหว่างภาคเกษตรและภาคเศรษฐกิจอื่นๆ และระหว่างในภูมิภาคส่วนต่างๆ ของประเทศยังมีอยู่อีกมาก จึงเป็นประเด็นสำคัญในการปรับโครงสร้างการเกษตรต่อไป

ความต้องการหาที่ที่มีแหล่งน้ำ

ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือติดแม่น้ำได้ยิ่งดี เพราะน้ำเป็นตัวแปรที่สำคัญมากในการเพาะปลูกพืชทุกชนิด ต่อไปในอนาคตน้ำจะเป็นสิ่งที่หายากขึ้นไปเรื่อยๆ และที่ดินควรจะอยู่ในที่สูงน้ำไม่ท่วมขัง เราคงจะได้รับทราบความลำบากและความเสียหายจากน้ำท่วมกันเป็นอย่างดีแล้ว ในสภาวะอากาศของโลกแปรปรวนอย่างนี้ ต่อไปภัยพิบัติจากธรรมชาติโดยเฉพาะอุทกภัยคงจะรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการลงทุนในที่ดินของเราเป็นการลงทุนระยะยาวถึงยาวมาก จึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เอาไว้ด้วย เราจึงควรเลือกที่ดินที่อยู่สูง ไม่เป็นแอ่ง หรือจุดรับน้ำ

ทรัพยากรที่ดินถือเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักในการดำรงชีพของมนุษย์

เป็นเวลายาวนานนับแต่อดีต พื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกมีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมลงไปเรื่อยๆเนื่องจากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ไม่เหมาะสมตามศักยภาพ และขาดการจัดการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง การจัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาทำการเกษตรต้องมีเอกสารสิทธิ์เป็น โฉนด (น.ส.4ก.) หรือ น.ส.3ก. เท่านั้น เอกสารอื่นๆทางที่ดีอย่างเสี่ยงดีกว่าเพราะจะมีปัญหาเรื่องของกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินในภายหลัง เช่น สปก. หรือ ภบ.ท.5 นั้นไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่สามารถนำไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ได้ ที่ดินพวกนี้อาจจะมีราคาถูกกว่าโฉนดก็จริงแต่ถ้ามีปัญหาในภายหลังก็ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง พอเราซื้อมาแต่เอาไปขายไม่ได้หรือซื้อมาแล้วถูกยึดคืน

This entry was posted in ความรู้อสังหา and tagged , , . Bookmark the permalink.