ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูกทั่วไป ของประเทศไทยส่วนใหญ่ มักจะขาด ความอุดมสมบูรณ์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โครงสร้าง ของดินไม่ดี แน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ มีจุลินทรีย์ ในดินน้อย เนื่องจากสภาพ ที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากได้ใช้ดิน เพื่อการเพาะปลูก อย่าง ต่อเนื่อง โดยขาดการปรับปรุง และบำรุงรักษา การทำการเกษตรกรรม ที่ไม่เหมาะสม ใช้ ที่ดินผิดประเภทตลอดจนแหล่งกำเนิด ของดินเอง เช่น ดินทราย ดินลูกรัง ดินเปรี้ยว ดินเค็มดินด่าง เป็นต้น ทำให้ขาดความสมดุล ในด้านสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ จำเป็นต้องทำการปรับปรุง และ หาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ เพื่อการเพาะปลูก ต่อไป
แนวทางการปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูก ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นดิน ที่เสื่อมค่า ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินกรวด ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่ดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดิน ที่มีหน้าดินถูกชะล้าง ดินเหล่านี้ สามารถปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ใช้ ในการเพาะปลูกได้ การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติเป็นทางหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ได้ เป็นวิธี ที่ทำได้ง่าย เป็นการใช้วัสดุ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้มาทำ ให้เกิดประโยชน์ ในการปรับปรุงบำรุงดินเป็นการใช้พืช และ สัตว์เป็นแหล่ง ของธาตุอาหารพืช ในดิน ตลอดจนการเขตกรรม และ ระบบการจัดการเกษตร ที่เหมาะสม เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้เกิดผลผลิตที่บริสุทธิ์ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนการผลิต และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพิษอีกด้วย
การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาตินั้น จะต้องคำนึงถึงความสมดุลทางเคมี ชีวะ และ กายภาพ เป็นหลัก ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยวิธีต่างๆ ดังนี้
1. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ระบบพืชประกอบด้วย การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืชคลุมดิน
2. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การใช้ปุ๋ยคอก การใช้ปุ๋ยหมัก การใช้เศษพืช
โดยสรุปพบว่า ดิน ที่ทำการเกษตรทั่วไป และ ดิน ที่มีปัญหา ถ้านำมาใช้ในการเกษตรนั้น เราสามารถใช้วิธีธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดินได้ โดยเฉพาะการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์นำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็น